สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไป
23 กันยายน 2566

0


สภาพทั่วไป
 

 

    1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนตำบลหนองบัว
          องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล  เมื่อวันที่ 16  ธันวาคม  2539               มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ที่ 8  ถนนบ่อล้อ – ลำทับ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอรัษฎา  อยู่ห่างจากที่ว่าการ  อำเภอรัษฎา  11  กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ  15  นาที และอยู่ห่างจากจังหวัดตรัง ประมาณ  57  กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ  1  ชั่วโมง
              1.2 เนื้อที่และอาณาเขต
                    องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว มีเนื้อที่ทั้งหมด  63.69  ตารางกิโลเมตร (39,806.25 ไร่) 
          ทิศเหนือ          ติดต่อกับ   เทศบาลตำบลกะปาง  อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ   องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำตก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศใต้             ติดต่อกับ   องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ   เทศบาลตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
   องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปาง  อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง

 

คำอธิบาย: C:\Users\acer\Desktop\168353.jpg 

 

แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขตตำบลหนองบัว อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง

  

 

 

 

 

 

2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง 
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  9  หมู่บ้าน  ดังนี้


หมู่ที่

ชื่อบ้าน

ชื่อผู้นำ

ตำแหน่ง

1

บ้านศาลาหนองบัว

นายเจริญ  จันทรมาศ

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  1

2

บ้านต้นไทร

นายประสิทธิ์  ช่องปลอด

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  2

3

บ้านล่องน้ำ

นายศุภวัฒน์  มีเถื่อน

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3

4

บ้านหน้าเขา

นายธรรมรัตน์  ชื่นเดช

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  4

5

บ้านหนองศรีจันทร์

นายสุรพล  โพธิ์ศรี

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  5

6

บ้านถ้ำพระพุทธ

นายประคอง  ทองน้ำแก้ว

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  6

7

บ้านคลองโกงใต้

นายสัมฤทธิ์  ไข่จำ

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  7

8

บ้านหนองบัว

นายปรีชา  สุวรรณเลิศ

ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  8

9

บ้านกะปาง

นายกิตติพงษ์  มีชนะ

กำนันตำบลหนองบัว

  2.2 การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว  มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 9 คน  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน  ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน  และรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล      2 คน และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน ไม่มีความขัดแย้งในการติดต่อประสานงานระหว่างท้องถิ่นกับท้องที่ ซึ่งประชาชนตำบลหนองบัวให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและให้ความสำคัญกับประชาคมหมู่บ้าน ประชาคมตำบลและการมีส่วนร่วมของประชาชน
3. ประชากร 
1)   มี  9  หมู่บ้าน  จำนวนหลังคาเรือน  1,854  หลังคาเรือน
2)   จำนวนประชากรทั้งหมด   5,339  คน  รายละเอียดดังนี้


หมู่ที่

ชื่อบ้าน

จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือน

ชื่อผู้นำ

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านศาลาหนองบัว

509

529

1,038

350

นายเจริญ  จันทรมาศ

2

บ้านต้นไทร

229

250

479

180

นายประสิทธิ์  ช่องปลอด

3

บ้านล่องน้ำ

269

239

508

175

นายศุภวัฒน์  มีเถื่อน

4

บ้านหน้าเขา

290

282

572

195

นายธรรมรัตน์  ชื่นเดช

5

บ้านหนองศรีจันทร์

250

236

486

168

นายสุรพล  โพธิ์ศรี

6

บ้านถ้ำพระพุทธ

155

176

331

113

นายประคอง  ทองน้ำแก้ว

7

บ้านคลองโกงใต้

181

209

390

154

นายสัมฤทธิ์  ไข่จำ

8

บ้านหนองบัว

288

305

593

213

นายปรีชา  สุวรรณเลิศ

9

บ้านกะปาง

480

460

940

306

นายกิติพงษ์  มีชนะ

รวม

2,651

2,686

5,337

1,854

 

3)   มีความหนาแน่นเฉลี่ย         83.80  คน / ตารางกิโลเมตร  
4)   มีความหนาแน่นเฉลี่ย         2.88   คน / ครัว
(ข้อมูล  ณ   เดือนมกราคม  พ.ศ. 2564  ทะเบียนอำเภอรัษฎา)
          5)   เปรียบเทียบจำนวนผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ทั้งหมด กับผู้ที่ได้รับสวัสดิการเบี้ยยังชีพแล้ว 

ที่มา:  ข้อมูล  ณ  1  กันยายน  2564  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว

  

หมายเหตุ        :         1)       ผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพ             คิดเป็นร้อยละ    100
2)       ผู้พิการได้รับเบี้ยยังชีพ              คิดเป็นร้อยละ    100
3)       ผู้ป่วยเอดส์ได้รับเบี้ยยังชีพ          คิดเป็นร้อยละ    100

   
   
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
23 กันยายน 2566

0


ลักษณะทางเศรษฐกิจ
 

1 อาชีพ
ประชากรในตำบลหนองบัวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร  เช่น  สวนยางพาราเป็นส่วนใหญ่  นอกจากนั้นแล้วจะประกอบอาชีพรับจ้าง  รับราชการ  ธุรกิจ  ร้านค้าขนาดเล็ก   โดยรวมแล้วราษฎรจะประกอบอาชีพหลายอย่างควบคู่กันไป
2  รายได้  รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีเรียงแยกตามหมู่บ้าน


ลำดับที่

บ้าน

หมู่ที่

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี (บาท)

หมายเหตุ

1

บ้านศาลาหนองบัว

1

54,034.56

 

2

บ้านต้นไทร

2

56,496.88

 

3

บ้านล่องน้ำ

3

51,101.15

 

4

บ้านหน้าเขา

4

51,584.31

 

5

บ้านหนองศรีจันทร์

5

51,075.90

 

6

บ้านถ้ำพระพุทธ

6

54,175.62

 

7

บ้านคลองโกง

7

62,849.81

 

8

บ้านหนองบัว

8

55,748.94

 

9

บ้านกะปาง

9

57,876.93

 

รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี

54,872.42

 

              ?   ที่มา-ข้อมูล  ณ พฤษภาคม  2562   จากพัฒนาชุมชนอำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง

 

สภาพทางสังคม
23 กันยายน 2566

0


 สภาพทางสังคม

               4.1  การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา  จำนวน  4   แห่ง    ได้แก่  
1)  โรงเรียนบ้านหนองบัว                    ตั้งอยู่หมู่ที่  8
2)  โรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์             ตั้งอยู่หมู่ที่  5
3)  โรงเรียนบ้านต้นไทร                     ตั้งอยู่หมู่ที่   2
4)  โรงเรียนวัดถ้ำพระพุทธ                  ตั้งอยู่หมู่ที่  6
โรงเรียนก่อนประถมศึกษา  จำนวน  5  แห่ง  ได้แก่ 
1)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน         ตั้งอยู่หมู่ที่  8
2)  โรงเรียนบ้านต้นไทร                      ตั้งอยู่หมู่ที่  2
3)  โรงเรียนบ้านหนองศรีจันทร์             ตั้งอยู่หมู่ที่  5
4)  โรงเรียนบ้านหนองบัว                    ตั้งอยู่หมู่ที่  8
5)  โรงเรียนวัดถ้ำพระพุทธ                   ตั้งอยู่หมู่ที่  6
               4.2  การสาธารณสุข
                    มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลหนองบัว  อำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 8  มีขอบเขตความรับผิดชอบ  9  หมู่บ้าน ซึ่งมีนางมาริสา  มากเพ็ง  เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล  เป็นเครือข่ายบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลรัษฎา  โดยมีนายแพทย์ชัยณรงค์  มากเพ็ง  เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล  มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น จำนวน  11  คน

               4.3 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ตำรวจชุมชน  จำนวน  1  แห่ง                                  
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน  จำนวน  15  คน 
จิตอาสาภัยพิบัติ     จำนวน  50  คน
ทีมกู้ชีพบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน  จำนวน  6  คน

ด้านการบริการพื้นฐาน
23 กันยายน 2566

0


      5.1 การคมนาคมขนส่ง
                   จำนวนถนน  57  สาย  ระยะทางรวม  74.99  กิโลเมตร  เป็นถนนหินคลุก  จำนวน  18.64  กิโลเมตร  ถนนคอนกรีต  จำนวน  38.68  กิโลเมตรและถนนลาดยาง  จำนวน  38.68  เมตร
ทางหลวงแผ่นดิน สาย 4151 (ถนนสายบ่อล้อ – ลำทับ) เป็นถนนสายหลัก  นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสายย่อย  ๆ ในพื้นที่อีกหลายสาย
               5.2 การไฟฟ้า
จำนวน  9  หมู่บ้าน  ประชากรที่มีไฟฟ้าใช้  ประมาณ  98% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด